โสกันต์เจ้านาย โกนจุกชาวบ้าน ตัดจุกโนรา พิธีกรรมสู่ความเปลี่ยนแปลง I ประวัติศาสตร์นอกตำรา
ปัจจุบัน ประเพณีโกนจุก ยังคงแพร่หลายในพื้นที่ภาคกลาง และอีสานใต้ของประเทศไทย
พิธีโกนจุกยังพบในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาด้วย โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่ชัดเจน
โกนจุกเชื่อว่า มีต้นเค้ามาจากอินเดีย แม้อินเดียจะไม่มีพิธีกรรมโกนจุกที่ชัดเจนนัก หากแต่ผู้คนในภูมิภาคอุษาคเนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็รับและสวมใส่คติความเชื่อลงไป จนกลายเป็นประเพณี และวัฒนธรรมในแบบฉบับของตัวเองที่อันงดงาม
พระราชพิธีโสกันต์ และเกศากันต์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีในราชสำนัก ต่อมาได้เผยแพร่ลงสู่หมู่สามัญชน จนกลายเป็นประเพณีการโกนจุกของไทย
นอกจากนี้ยังมีการ “ตัดจุกโนรา“ ของคนปักษ์ใต้ ที่แม้จะมีรายละเอียดที่แตกต่างไป แต่ทั้งหมดล้วนแล้วมีความหมายเดียวกัน นั่นคือพิธีกรรมที่บ่องบอกถึงการ “เปลี่ยนแปลงสถานภาพ“ จากช่วงวัยหนึ่งไปสู่อีกช่วงวัยหนึ่ง
หรือว่าจริง ๆ แล้ว “โสกันต์ เกศากันต์ โกนจุก ตัดจุก“ จะเป็น “อุบาย“ ของสังคมโบราณ ที่ต้องการย้ำเตือนว่า คนในทุกช่วงวัยกำลังค่อย ๆ เดินทางไปสู่ปลายทางแห่งชีวิต แต่ละคนล้วนต่างมีหน้าที่ และบทบาทของตนเองตามวัยที่เปลี่ยนไป
แม้กระนั้นทุกคนยังคงมีหน้าที่ต้องช่วยกันประคับประคองให้สังคมนี้ สามารถเดินทางต่อไปได้ โดยเป็นสังคมที่สงบสุข และมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดไป